อาหารทางสายยาง (Tube Feeding) หมายถึงหมายถึงอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลว สามารถให้อาหารเหลวผ่านทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองหรือมีปัญหาในการกลืน แต่ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารยังสามารถทำงานได้และไม่มีการอุดตันของทางเดินอาหารส่วนปลาย
ใครบ้างที่ควรให้อาหารทางสายยาง ?
อาหารทางสายยางเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน หลอดอาหารได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เด็กเล็กที่ดูดนมได้ไม่ดี เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองช็อก ตับวาย ไตวาย ผู้ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น (anorexia nervosa) หรือผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งได้รับเคมีบำบัดหรือรังสีเป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหาร น้ำ และ ยา เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยคำนวณถึงสัดส่วน ปริมาณ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วย และถูกกับโรคของผู้ป่วย จะมีการออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการ อาหารทางสายยางไม่เหมาะแก่ผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของกระเพราะและลำไส้ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการอุดตันของลำไส้ ผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำ และผู้ป่วยที่มีอาหารอาเจียน และถ่ายเหลว
สูตรอาหารทางสายยางมี 3 สูตร ดังนี้
1. สูตรน้ำนมผสม (Milk based formula)
สูตรนี้ใช้เวลาน้อย เหมาะสำหรับผู้ป่วยเด็ก มีน้ำนม และผลิตภัณฑ์ของน้ำนมเป็นส่วนประกอบสำคัญ และอาจมีอาหารอื่นเพิ่มเพื่อให้ได้พลังงานและสารอาหารเพียงพอ เช่น ไข่ ครีม น้ำตาล น้ำมันพืช น้ำผลไม้ เป็นต้น
2. สูตรอาหารปั่นผสม (Blenderized formula)
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แพ้นมวัว สามารถปรับเปลี่ยนส่วนผสมของอาหารได้ โดยให้สารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย ประกอบด้วยสารอาหารหลักได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันอย่างเหมาะสม เลือกวัตถุดิบมาจากอาหารแต่ละหมู่ นำมาทำให้สุกแล้วปั่นผสมเข้าด้วยกัน
3. สูตรอาหารสำเร็จรูป (Commercial formula)
อาหารทางสายยางประเภทนี้เป็นอาหารที่ออกแบบสูตรอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ มีให้เลือกใช้มากมายหลายสูตรได้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วย มีทั้งชนิดผงและเป็นของเหลว โดยทางเราจะให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยและความเหมาะสมเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีความมั่นใจในการใช้อาหารปั่นผสม โดย อาหารแต่ละสูตรจะรายละเอียดจำนวนแคลอรี ต่อปริมาณอาหารที่กำหนดไว้
รูปแบบของการอาหารทางสายยาง
1. Nasogastric tube feeding
การให้อาหารทางสายยางทางจมูกเป็นการให้อาหารผ่านทางสายยางจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการให้อาหารทางปาก แต่สามารถย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งเป็นวิธีการให้อาหารที่ใช้มากที่สุด
2. Orogastric Tube feeding
เป็นการให้อาหารเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหารเข้าไปในกระเพาะอาหาร ส่วนมากจะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก หรือทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากเด็กทารกรูจมูกจะเล็กและบางมาก การ ใส่สายให้อาหารทางรูจมูก อาจ ทำให้ trauma ต่อเยื่อบุจมูกและทำให้เด็กหายใจไม่สะดวก
3. Gastrostomy tube feeding
เป็นการให้อาหารทางสายที่เจาะผ่านทางหน้าท้องเข้าไปในกระเพาะอาหาร ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใส่สายผ่านทางหลอดอาหารได้ เนื่องจากมีการอุดตันของหลอดอาหาร หรือมีการตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน รวมทั้งในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้อาหารทางสายเป็นเวลานาน
ขบวนการผลิตอาหารสายยาง เป็นไปตามมาตรฐานและสูตรที่กำหนดตามคำสั่งแพทย์ กำหนดปริมาณอาหาร พลังงาน จำนวนมื้อ ปรับเปลี่ยนสูตรอาหารเฉพาะโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ซึ่งกระบวนการผลิตทั้งหมดจะทำในห้องที่ปลอดเชื้อ วัตถุดิบในการผลิตสะอาดได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ ขั้นตอนการผลิตควบคุมดูแลโดยนักโภชนาการ ที่ได้คำนวณสัดส่วนของอาหารที่ผู้ป่วยจะได้รับต่อมื้อในแต่ละวัน ซึ่งความพิเศษอาหารสายยาง คือ สามารถเก็บรักษาได้นานถึง24ชั่วโมง ไม่ใส่สารกันบูด สะอาด ปลดภัย โดยจะมีการเช็คประวัติการแพ้อาหารของผู้ป่วยก่อนทุกครั้ง
การให้ อาหารสายยางคืออะไร? อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/