ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของภายในแบบบ้าน โดยเบื้องต้นแบบก่อสร้างที่ถูกต้องจะต้องมีรายชื่อ เลขประจำตัว และลายเซ็นของสถาปนิกและวิศวกร และมีใบอนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานราชการ ซึ่งมีอายุ 1 ปี จึงควรให้ผู้รับเหมาต่ออายุใบอนุญาตก่อนหมดอายุเสมอ
โดยแต่ละบริษัทอาจมีการใช้ฟอร์มของแบบก่อสร้างแตกต่างกัน แต่มีหัวข้อสำคัญที่ควรมี คือ รูปแบบการก่อสร้าง, สถานที่ก่อสร้าง, เจ้าของ, สถาปนิก, วิศวกรโยธา, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรสุขาภิบาล, เขียนแบบ, วันที่ และแผ่นที่
พร้อมกับกำกับมาตราส่วนของแผนผัง และบอกรหัสและหมายเลขแบบแปลนว่าเป็นในส่วนของงานระบบอะไร โดยจะแบ่งออกเป็น
รหัสตัวอักษร ความหมาย
A แบบสถาปัตยกรรม
S แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
EE แบบระบบไฟฟ้า
SN แบบประปา-สุขาภิบาล
ตัวอย่างการเขียนแบบบ้านเบื้องต้น
นอกจากรายละเอียดสำคัญที่อยู่ในหัวกระดาษแล้ว อีกหนึ่งส่วนประกอบก็คือองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้าน อาทิ คาน เสา โครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งในส่วนนี้จะถูกจัดยู่ในส่วนของแบบสถาปัตยกรรม
แบบสถาปัตยกรรมคือรายละเอียดที่สถาปนิคจะเป็นผู้จัดการในส่วนนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องของการออกแบบตัวบ้าน ขนาดจำนวนห้อง รวมถึงความสวยงามหน้าตาของบ้าน ซึ่งจะประกอบไปด้วย
แปลนพื้น บอกตำแหน่งและขนาดห้องต่าง ๆ ตำแหน่งประตู – หน้าต่าง ตำแหน่งบันได ฯลฯ
รูปด้าน แสดงภาพการมองบ้านจากภายนอกบ้านทั้ง 4 ด้าน ใช้ดูวัสดุและส่วนประกอบของบ้าน
รูปตัด แสดงภาพบ้านที่ถูกตัดให้เห็นโครงสร้าง ภายในบ้าน ใช้ดูระดับความสูงในชั้นต่าง ๆ
รายการประกอบแบบ บอกรายละเอียดวัสดุที่จะใช้ เช่น ผนัง ฝ้า พื้น หลังคา ประตู และหน้าต่าง
แบบขยาย เสมือนการ Zoom เข้าไปดูรายละเอียดเป็นส่วน ๆ ไป เช่น ห้องน้ำ ส่วนบันได
สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างรายการประกอบแบบก่อสร้างจากกรมส่งเสริมการปกครองและท้องถิ่น ได้ที่นี่
จากแบบแปลนต่าง ๆ จะเห็นว่าภายในแบบบ้านจะมีสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันไปในแบบแปลน ดังนั้น ผู้ว่าจ้างสร้างบ้านควรเข้าใจว่าสัญลักษณ์เหล่านั้นในแบบแปลนบ้านว่ามีความหมายถึงอะไร โดยสัญลักษณ์ที่มักปรากฎในแบบแปลนบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอยู่ในแบบสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย
สร้างบ้านเอง ต้องเตรียมตัวอย่างไร
สร้างบ้านเอง ต้องเตรียม 7 ขั้นตอน รู้ก่อนหาผู้รับเหมา ขออนุญาตก่อสร้าง
สัญลักษณ์ที่ปรากฎในแบบสถาปัตยกรรมบ้าน
สัญลักษณ์พื้นผิว
สัญลักษณ์เส้นบอกระยะการเขียนแบบบ้าน
สัญลักษณ์รูปด้านและรูปตัด
สัญลักษณ์ประตู หน้าต่าง และผนัง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น แบบแปลนจะมีรหัส A, S, EE และ SN ซึ่งหมายความว่าการดูแบบแปลนไม่ได้มีแค่งานโครงสร้างสถาปัตยกรรมเท่านั้น
แต่ยังแบ่งออกเป็นการเขียนแบบบ้านทั้งหมดอีก 3 รูปแบบ คือแบบวิศวกรรมโครงสร้าง, แบบระบบไฟฟ้า และ แบบประปา – สุขาภิบาล ซึ่งการเขียนแบบบ้านแต่ละแบบจะแตกต่างกันไป และมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมเข้ามา
ดังนั้น ผู้ว่าจ้างสร้างบ้านจำเป็นต้องมีข้อมูลเบื้องต้นในการดูแบบแปลนอื่น ๆ เหล่านี้ด้วย
แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
เมื่อทำความรู้จักกับส่วนประกอบของบ้านจากตอนที่แล้ว จะทำให้สามารถตรวจงานอย่างคร่าว ๆ ของแบบวิศวกรรมโครงสร้างได้ โดยแบบวิศวกรรมนี้จะเป็นรายละเอียดในส่วนของโครงสร้างความแข็งแรงของตัวบ้าน และมีวิศวกรโยธาเป็นผู้ออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับแบบสถาปัตยกรรมที่สถาปนิคได้ออกแบบมา
แบบวิศวกรรมโครงสร้างประกอบไปด้วย
แปลนฐานราก แสดงตำแหน่งฐานราก (ซึ่งฝังอยู่ใต้ดิน) และเสาเข็ม
แปลนเสา คาน พื้น แสดงตำแหน่งเสา แนวคาน และพื้นต่าง ๆ
แปลนโครงหลังคา แสดงแนวโครงหลังคาที่ใช้รองรับกระเบื้องมุงหลังคา
แบบขยายหน้าตัดเสา คาน พื้น แสดงการเสริมเหล็กเส้นในเสาคอนกรีต คานคอนกรีต แบะพื้นคอนกรีต
รายการประกอบแบบ แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิของคอนกรีต เหล็ก รวมถึงวิธีการทำงานและวิธีทดสอบต่าง ๆ
แบบวิศวกรรมไฟฟ้า
แบบวิศวกรรมไฟฟ้า คือ แบบที่แสดงงานระบบไฟฟ้าทั้งหมด รวมไปถึงระบบแสงสว่าง สำหรับงานส่วนนี้สำหรับการเขียนแบบบ้านอยู่อาศัยทั่วไป อาจจะออกแบบโดยวิศวกรรมโครงสร้างได้ เนื่องจากไม่มีความซับซ้อนถึงระดับที่ต้องใช้วิศวกรไฟฟ้าแต่อย่างใด ซึ่งแบบวิศวกรรมไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย
แปลนดวงโคมแสงสว่าง แสดงตำแหน่งดวงโคมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งบ้าน พร้อมระบุชนิดของดวงโคมและอุปกรณ์
แปลนเต้าเสียบ สวิตซ์ บอกตำแหน่งปลั๊กไฟ ปลัก๊กโทรทัศน์ ปลั๊กโทรศัพท์ ปลั๊กคอมพิวเตอร์ สวิซต์ไฟ พร้อมระบุชนิดของอุปกรณ์ทั้งหมด
รายการประกอบแบบ ระบุขนาดสาย ชนิด และขนาดของท่อร้อยสาย ตู้เมนไฟฟ้า และอุปกรณ์ในการทำงาน
แบบวิศวกรรมไฟฟ้า
จุดสำคัญของแบบระบบไฟฟ้าคือตำแหน่งของตู้เมนบอร์ดที่เป็นสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คาดด้วยสีดำทะแยงมุมครึ่งหนึ่งสีขาวครึ่งหนึ่ง ส่วนเส้นโค้ง ๆ ที่ลากจากสัญลักษณ์ดาวน์ไลท์จากหนึ่งจุดไปถึงอีกจุดคือการแสดงการต่อสายไฟ เพื่อกำหนดจำนวนโคมไฟที่จะเปิดและปิดในสวิตซ์เดียวกัน
แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล
แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล เป็นรายละเอียดของส่วนงานด้านสุขาภิบาล เช่นระบบน้ำทิ้ง น้ำดี ระบบประปา และการเดินท่อน้ำประปาต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
แปลนท่อ แนวการเดินท่อน้ำ ท่อน้ำทิ้ง ท่อโสโครก ท่อระบายอากาศ ภายในตัวบ้าน และตำแหน่งบำบัดน้ำเสีย
แปลนท่อระบายน้ำ บ่อพักน้ำ บ่อดักขยะ และบ่อดักไขมัน แนวท่อระบายน้ำรอบเขตที่ดิน ตำแหน่งบ่อพักน้ำ บ่อดักขยะ บ่อดักไขมัน พร้อมตำแหน่งการเชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำสาธารณะของทางราชการ
รายการประกอบแบบ ระบุชนิด ขนาดของท่อ และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ข้อต่อ ข้องอ และวาล์วต่างๆ ตลอดจนวิธีการทำงานและวิธีการทดสอบ
รูปประกอบจากกรมโยธาธิการและผังเมือง
จุดเส้นปะจะเป็นแนวเส้นของท่อระบายน้ำ หรือ ระบบสุขาภิบาลภายในบ้าน
เมื่อเรามีความรู้เบื้องต้นในการดูแบบแปลนบ้าน ก็จะทำให้ขั้นตอนในการก่อสร้างหรือพูดคุยกับผู้รับเหมาง่ายขึ้น จากการตรวจเนื้องานเบื้องต้น และเป็นการป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นหลังจากสร้างบ้านด้วย
รับออกแบบบ้าน: รู้จักบ้าน เข้าใจแบบ ดูแปลนบ้านให้ออก ก่อนคิดสร้างบ้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/