ปัจจุบันการสร้างบ้านในหลาย ๆ สไตล์มีการประยุกต์รูปแบบ และหลักการตามภูมิปัญญาในอดีตมาให้เห็นบ้าง นั่นเป็นเพราะการนำเอานวัตกรรมต่าง ๆ ตลอดจนวัสดุทดแทน จึงคงไว้แต่หลักการแนวทางเพื่อปรับให้เหมาะกับยุคสมัย ภูมิปัญญาไทย ที่ถูกประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างบ้านยุคใหม่ มีอะไรบ้าง วันนี้จะพาไปรู้จักกันค่ะ
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรมของคนไทย โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ คนกับสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ถือเป็นกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิต ของคนในการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชนและสังคม ตลอดจนเป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
1. ผนังหายใจได้
ในเรือนกาแลที่เป็นสถาปัตยกรรมของภาคเหนือโบราณมีส่วนประกอบที่ชื่อว่า ฝาไหล-ฝาตาก ทำหน้าที่ช่วยป้องกันลมหนาวที่พัดปะทะตัวเรือน ในขณะเดียวกันก็ช่วยระบายอากาศภายในให้โปร่ง โล่ง สบายมากยิ่งขึ้น ลักษณะคือ ฝาไม้สองชั้น เจาะช่องพอให้ลมรอด ตีเว้นช่องสลับกัน ใช้สำหรับเลื่อนเปิด-ปิด
ปัจจุบันหลักการบังลม-แสง และผ่อนความร้อนจากด้านนอกสู่ด้านในนั้นนี้ ถูกนำมาปรับใช้ในรูปแบบของฟาซาด (façade) หรือ ระแนง ต่าง ๆ เพื่อรักษาอุณภูมิบ้านให้เย็นสบาย มากกว่านั้นก็คือเพิ่มเติมความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านมากขึ้น
2. หลังคาจั่วสูง
เรือนเครื่องสับ คือสถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเป็นพื้นถิ่นภาคกลาง ด้วยลักษณะเฉพาะคือใต้ถุนสูง หลังคาจั่วสูง แต่ในปัจจุบันการสร้างบ้านไม่ค่อยเห็นลักษณะยกใต้ถุนสูงอย่างในอดีต ยังคงไว้คือหลังคาจั่วสูง เพราะหลังคาสูงจะช่วยระบายความร้อนจากหลังคาสู่ภายในบ้านได้ ยิ่งสูงโปร่งมาก ก็ยิ่งระบายอากาศได้ดีมาก รวมถึงระบายน้ำฝนได้ดี และเร็ว
3. ชานแดด หรือ ชานร่ม
คือ ระเบียง หรือ พื้นที่อเนกประสงค์ ที่มักเห็นในบ้านเรือนสมัยก่อน เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับรับแขกหรือทำกิจกรรมงานมงคลต่าง ๆ แต่อาจจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละภาค โดยพื้นที่แต่ละส่วนถูกจัดสรรด้วยความต่างระดับกัน ซึ่งภูมิปัญญานี้ถูกยกมาใช้ในแบบบ้านปัจจุบันเป็นจำนวนมาก เรียกว่า คอร์ตยาร์ด คอร์ตยาร์ด (Courtyard) คือ ลานหรือพื้นที่ไม่มีหลังคาคลุม และมีผนังหรืออาคารโอบล้อมทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่แม้จะดูเป็นพื้นที่เปิดกว้างแต่กลับเป็นพื้นที่ส่วนตัวไปได้ด้วยการออกแบบ บริษัทรับสร้างบ้านมักจะจัดสรรพื้นที่ส่วนนี้ ให้บางส่วนของอาคารบังตาเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับบ้านนั่นเอง
4. ทิศบ้าน
หนึ่งในภูมิปัญญาที่ไม่อาจละเลยได้ เพราะอย่างที่เกริ่นไปช่วงต้นว่า ความเป็นอยู่ของคน - สิ่งของ - ธรรมชาติ เป็นเรื่องที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด การสร้างบ้านคุณภาพจึงต้องเอาธรรมชาติเป็นที่ตั้งอย่างเคารพไม่ทำลาย ใช้ประโยชน์ให้เกิดกับบ้านอย่างสร้างสรรค์ การสร้างบ้านตามทิศจึงไม่ใช่เรื่องงมงายล้าสมัย สามารถประยุกต์ใช้ในยุคปัจจุบันได้
ทิศบ้านที่ควรและเหมาะสมในการสร้างบ้าน ควรเป็นวางตัวบ้านหันด้านแคบไปด้านทิศตะวันออก-ตะวันตก หรือวางบ้านขวางลมใต้ เพื่อลดความร้อนสะสมภายในบ้าน นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากลมประจำทิศตลอดปี ประหยัดการใช้เครื่องปรับอากาศ ไฟฟ้า ในเวลาเดียวกัน
โครงการบ้านโคราช: รู้จักภูมิปัญญาไทยที่ถูกประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างบ้านยุคใหม่ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://homes-realestate.com/