โรคไตเป็นปัญหาสำคัญและมีจำนวนคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น จากการศึกษาโดยสมาคมโรคไต พบว่ามีการเกิดโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนหลักล้านคน แต่มีผู้ที่ทำการฟอกไตจริงๆ ในปัจจุบันมีจำนวนไม่ถึงแสนคน ดังนั้นหากจะมาดูที่วิธีป้องกันว่าโรคไตเรื้อรัง เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
หน้าที่ของไต
“ไต” มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
การขับของเสีย ขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ฉะนั้นถ้าขับไม่ได้ จะมีอาการบวมตามตัว
มีหน้าที่เกี่ยวกับการสมดุลของเกลือแร่ ประเภทกรดด่างต่างๆ
ไตมีหน้าที่ สังเคราะห์ฮอร์โมนวิตามินต่างๆ สร้างฮอร์โมนท์ที่กระตุ้นเม็ดเลือดต่อวิตามินดี ฉะนั้นหากไตเสื่อมการทำงานของไตก็อาจจะมีเลือดจาง และมีภาวะขาดวิตามินได้
สาเหตุของโรคไต
อันดับหนึ่งพบว่าเกิดจากเบาหวานที่เป็นมาระยะเวลานาน
อันดับสองเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง อันดับสามเกิดจากไตอักเสบเรื้อรัง มีภาวะอุดกลั้นทางเดินปัสสะวะ พวกนิ่วในไต
อันดับสาม คือการที่คนไทย นิยมซื้อยารับประทานเอง อาทิ ยาแก้ปวด ยาสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยงโรคไต
ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี
ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน หรือโรคเก๊าท์
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ตั้งแต่อายุน้อยว่า 35 ปี หรือว่ามากกว่า 60 ปี
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
อาการของโรคไต
โดยโรคไตเรื้อรังเป็นภัยเงียบ ช่วงแรกจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นและยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์อีกที เมื่อมีอาการผิดปกติมากแล้ว ซึ่งเมื่อแพทย์สอบถาม มักจะพบอาการ ดังต่อไปนี้
บวมตามตัว โดยเฉพาะบริเวณขาหรือเท้าและหนังตา ซึ่งคนปกติหากไม่เคยบวมแล้วบวมขึ้นมา ถือว่าน่าสงสัย
ปัสสาวะผิดปกติ เช่น เวลาที่ราดน้ำหรือกดชักโครก แล้วเกิดมีฟอง ยิ่งฟองเยอะหรือหลายชั้น แสดงว่าผิดปกติ รวมไปถึงสีของปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีสีน้ำล้างเนื้อ สีแดงจางๆ การเข้าห้องน้ำบ่อย ทั้งระหว่างวัน และตอนนอน หมายถึงมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งคนไข้ควรสังเกตอาการ
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ทานได้น้อย คลื่นไส้อาเจียน
ระยะของโรคไต
โรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะ สามารถทราบระยะได้จากการตรวจเลือดและดูค่าของไต ที่เรียกว่า Creatinine มาวิเคราะห์ตามสูตร โดยคำนวนอายุ เพศ น้ำหนัก และคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์
100 % แสดงว่าปกติ
ค่าระหว่าง 90% คือ เป็นโรคไตระยะที่ 1
ค่าระหว่าง 60 – 90 % คือระยะที่ 2
ค่าระหว่าง 30 - 60 % คือระยะที่ 3 ซึ่งทั้ง 3 ระยะ แทบจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แพทย์ต้องซักประวัติและถามอาการอย่างละเอียด แต่หากคนไข้พบว่าเป็นโรคไต ในระยะต้นๆ ถือว่าโชคดี ที่จะทำการรักษา
ค่าระหว่าง 15 – 30% คือระยะที่ 4
ค่าต่ำกว่า 15 % คือระยะที่ 5 ถือว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือ ไตวายระยะสุดท้าย ซึ่งจะต้องมีการบำบัดทดแทนไตต่อไป
การป้องกันภาวะไตวาย
ควบคุมอาหาร ลดอาหารเค็ม เพื่อช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก ทั้งยังเป็นการควบคุมความดัน
ลดอาหารที่มีไขมันสูง
งดสูบบุหรี่
ดื่มน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติมากๆ เพราะการดื่มน้ำไม่มีข้อห้ามใดๆ และดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบำรุงไต ให้ทนทานต่อภาวะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
หากเป็นเบาหวานก็ต้องคุมน้ำตาล
หากเป็นโรคความดันสูงต้องคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ
หากเกิดจากยาที่รับประทาน ก็ต้องหยุดยา
ควบคุมยาที่มีผลกับไต เลี่ยงการกินยาที่เราไม่ทราบสรรพคุณหรือว่ากินยาที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะพวกยาแก้ปวด หรือ ยาสมุนไพรเป็นระยะเวลานาน
หากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงแล้ว ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษา
9 วิธีป้องกัน "โรคไต" ทำได้แข็งแรงแน่นอน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298